เกี่ยวกับฉัน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาสถิติประยุกต์ sec 2

นาฬิกาแดด

นาฬิกาแดด
นาฬิกาแดด เป็นความผสมผสานระหว่างศาสตร์ด้านดาราศาสตร์และงานศิลปได้เป็นอย่างดี เราจะเห็นว่าสถานที่สำคัญๆหลายแห่งจะมีการก่อสร้าง งานศิลปะของนาฬิกาแดดกลางแจ้งกันมากมาย โดยเฉพาะในต่างประเทศ แต่ในบ้านเราเองก็มีเห็นอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม มากเท่าที่ควร นาฬิกาแดดนอกจากจะเป็นงานศิลปที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ แต่ละท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นศาสตร์ด้านดาราศาสตร์ที่แสดง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้อีกด้วยเมื่อเราออกไปยืนกลางแจ้งตอนกลางวัน เราจะเห็นเงาของเราบนพื้นเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านไป เช่นตอนเช้าเราจะเห็นเงาของเราทอดยาวไปทางทิศตะวันตก และเมื่อเวลาผ่าน ไปตอนสายเงาจะสั้นลง สั้นลง จนสั้นที่สุดในตอนเที่ยงวัน และเริ่มยาวขึ้นเมื่อเริ่มหัวค่ำและเป็นเช่นนี้ตลอดทุกเมื่อเชื่อวัน ตราบที่โลกยังมีแสงอาทิตย์อยู่คนโบราณจึงใช้ความสัมพันธ์ของเงานี้เป็นตัวบอกเวลาแต่ไม่มี หลักฐาน แน่ชัดว่ามนุษย์ใช้ดวงอาทิตย์บอกเวลาตั้งแต่เมื่อไหร่

แต่เมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์กาลคน อียิปต ์โบราณ มีการสร้างแท่งหินที่เรียกว่า Obelisks ประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนแท่งหินที่เรียกว่า gnomon เป็นตัวสร้างเงาไปลงบนส่วนที่เรียกว่า Dial Plate ซึ่งมีสเกลบอกเวลาไว้ พอมาถึงยุคของ กรีกและโรมัน Obelisks ก็ถูกเรียกใหม่ว่า Sundials แต่ด้วยแกนเอียงของโลกและแนวโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้เงาที่ตกกระทบเปลี่ยนแปลง ไปเล็กน้อยในแต่ละวัน จึงต้องมีการแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบ ส่วนที่เป็น gnomon ใหม่ให้เอียงเป็นองศาตามตำแหน่งละติจูดของผู้สังเกต โดยทำเป็นแขนเล็งไปทางทิศเหนือ จนบางที่ก็ถูก เรียกว่า style ในปี 30 B.C. สถาปนิกชาวโรมันชื่อ Marcus Vitruvius ออกแบบนาฬิกาแดดแบบต่างๆถึง 13 แบบ ติดตั้งไปทั่วกริซ อิตาลี และ เอเซียไมเนอร์ พอนานวันเข้านาฬิกาแดดก็ถูกเปลี่ยนแปลงโฉม โดยใช้งานศิลป ประจำชาติเข้าเสริมแต่งให้ดูงดงามขึ้น แต่ยังอาศัยหลักการตกกระทบของเงาเหมือนเดิม จนปัจจุบันมีการพัฒนานาฬิกาแดดขนาดเล็กพกติดตัวได้ด้วย

การบอกเวลาของนาฬิกาแดด การใช้นาฬิกาแดดบอกเวลานั้น เราจะอาศัยเงาของ gnomon ที่ไปตกกระทบบน dialplate เป็นตัวบอกซึ่งเงาที่เกิดขึ้นจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ จากรูปด้านซ้ายมือ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นด้านทิศตะวันออกเงาของ gnomonจะไปปรากฏตรงข้ามคือ ทิศตะวันตก สมมุติว่า เป็นเวลา 9.00 น. เมื่อเวลาผ่านไปดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกเรื่อยๆ เพราะการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งก็ จะทำให้เงาของ gnomon เคลื่อนในทิศตรงกันข้ามคือ จากทิศตะวันตกไปทิศตะวัน ออก ถ้าดวงอาทิตย์อยู่ตำแหน่งเมอริเดียนหรือเวลาเที่ยงวัน แนวของ gnomon จะชี้ไปทางทิศเหนือพอดี ถ้าหากเรา Plot ตำแหน่งของเงาของ gnomon เรื่อยๆทุกๆชั่วโมง เราจะพบว่าจุดของเวลาก่อนเที่ยงและ หลังเที่ยงจะมีความ สมมาตร กัน พอดี ความยาวของเงาของ gnomon เองก็ยาวไม่คงทีจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆเดือน เพราะ อิทธิผล ของ แกนเอียงของโลก ประกอบกับในแต่ละเดือนเงาของ gnomon เองไม่เคยซ้ำตำแหน่งที่เวลาเดิมเลย ซึ่งเกิดจากวงโคจรที่เป็นวงรีของโลกรอบดวงอาทิตย์ นี่คือปัญหาที่นักประดิษฐนาฬิกาแดด จะต้องมีการชดเชยความ คลาดเคลื่อนของ เวลาด้วย อ่านรายละเอียดได้จากเรื่องการสร้างนาฬิกาแดด

หนังสือพิมพ์

http://takato.exteen.com/20050902/entry/page/3

บางกอกโพสต์
www.bangkokpost.com

weekly
www.student-weekly.com


คมชัดลึก
www.komchadluek.net

ความแตกต่างIE7 กับIE8

IE7 และ IE8

Internet Explorer 8 หรือ IE8 เริ่ มตั้งแต่ข่าวไมโครซอฟท์ส่งอินไวท์เชิญผู้ทดสอบ จนถึงสกรีนช็อตของบางส่วน เช่น หน้าติดตั้ง เปรียบเทียบเมนู ดูข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน้าตาหรือ interface แบบผ่านๆ และไม่เก็บมาเขียนเพราะว่ายังเร็วเกินไป เร็วเกินไปที่จะสรุปว่า IE8 จะหน้าตาออกมาอย่างไร แต่ให้ความสนใจกับเรื่องหลัก 2-3 เรื่อง อย่างเช่น การรองรับมาตรฐานเว็บในปัจจุบัน คุณสมบัติใหม่ และการแก้ไขบักบางอย่างในเวอร์ชั่นเก่า ส่วนหน้าตานั้นเบื้องต้นคิดว่าคงไม่ไปไกลกว่า IE7มากนัก และโดยปกติช่วงเบต้าต้นๆ ไมโครซอฟท์จะเน้นด้านคุณสมบัติเป็นหลัก ไว้ใกล้ๆ ไฟนอลเราจึงจะเห็นหน้าตาที่ชัดเจน ไมโครซอฟท์ประกาศผ่าน PressPass และให้รายละเอียดเพิ่มติมใน IE Blog เกี่ยวกับ Interoperability Principles ของ IE8 ซึ่งหมายการทำงานร่วมกับมาตรฐานต่างๆ ที่มีในปัจจุบัน (Standards mode) และเว็บที่เขียนด้วยมาตรฐานที่ตกยุคไปแล้ว (Quirks mode) เพื่อให้การแสดงผลเว็บถูกต้อง แต่เดิมไมโครซอฟท์มีแผนจะใช้ แท็ก เพื่อสนับสนุนมาตรฐานปัจจุบันใน IE8 แต่ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด โดยเบื้องต้น IE8 จะสนับสนุนมาตรฐาน rendering mode ใน 3 รูปแบบ หรือ 3 mode Mode ที่สนับสนุน Web standards ในปัจจุบัน เป็น mode ล่าสุด Mode ที่สนับสนุน Web standards ในช่วงที่ไมโครซอฟท์ปล่อย IE 7 ในปี 2549 หรือ เรียกว่ามาตรฐานของ IE7 Mode ที่สนับสนุน rendering methods สำหรับเว็บตกยุค มาตรฐานเว็บในยุคต้นๆ Dean Hachamovitch ให้เหตุผลในการตัดสินใจในการคงมาตรฐานการ render ของ IE7 ไว้เพื่อให้มีผลกระทบต่อเว็บน้อยสุด และช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่มาตรฐานใหม่ราบรื่นขึ้น พื้นฐานของการตัดสินใจนี้มาจากการผลสะท้อนในช่วงทดสอบและพัฒนา IE7 เมื่อมี Mode มาตรฐานเพิ่มขึ้นมา 2 mode คำถามทางเทคนิคจึงมีอยู่ว่า IE8 จะเลือก mode ไหนระหว่าง Standard Mode ของ IE8 กับ Standard Mode ของ IE7 ในการแสดงผลเว็บ เรื่องนี้ Dean ขยายความไว้ว่า ความคิดเบื้องต้นก่อนนี้ไมโครซอฟท์เลือกให้ IE8 แสดงผลด้วยมาตรฐานของ IE7 เป็นหลัก และให้นักพัฒนาเพิ่มแท็กพิเศษสำหรับเรียกมาตรฐานของ IE8 โดยใช้ความเข้ากัน (compatibility) เป็นฐานในการตัดสินใจ หลังรับฟังความคิดเห็นและยึดหลัก Interoperability Principles ไมโครซอฟท์เปลี่ยนรูปแบบโดยให้ IE8 เรียกใช้มาตรฐานของ IE8 เป็นหลักในการ render เว็บ ส่วนเว็บใดที่ต้องการใช้มาตรฐานของ IE7 จำเป็นต้องใส่แท็กพิเศษลงไป ซึ่งมีอธิบายไว้ใน “Beyond DOCTYPE: Web Standards, Forward Compatibility, and IE8” โดยส่วนตัวผมมีคำถามใหญ่หลายข้อที่ยังรู้สึกกำกวมในการอธิบายของ Dean โดยเฉพาะในนิยามของคำว่ามาตรฐานปัจจุบัน ไมโครซอฟท์มีแผนหรือท่าทีอย่างไรต่อ (บางส่วน) ของมาตรฐานใหม่ที่กำลังจะมีใช้ อย่างเช่น CSS3 HTML5 รวมไปถึงบักน่ารำคาญที่บ่อยครั้งภาพ .jpg กลายเป็น .bmp เมื่อจะบันทึก

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Internet คืออะไร

อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก